Information Of Camera
ความรู้เกี่ยวกับกล้อง

ก่อนที่จะเริ่มถ่ายภาพ ต้องมีการศึกษา
เกี่ยวกับหลักการและการทำงานก่อน

 
 
 

 
 
 

ความรู้เกี่ยวกับกล้อง

      สมัยก่อนตอนที่คอมพิวเตอร์ยังไม่ใช่สิ่งที่พบมากแบบทุกวันนี้ โลกยังเป็นยุคอนาล็อกอยู่ นั่นหมายความว่าอุปกรณ์เครื่องมือทุกชิ้นล้วนทำงานแบบไม่ใช้คอมพิวเตอร์มาผสมทั้งนั้น

      กล้องถ่ายรูปก็เป็นหนึ่งในสิ่งนั้น ราว 10-20 ปีก่อนกล้องถ่ายรูปทั้งหมดแทบจะเป็นกล้องฟิล์มทั้งหมด หากใครเกิดทันอาจจะเคยเห็นตลับฟิล์มที่ก่อนจะใช้ต้องเปิดกล้องและดึงฟิล์มออกมาเซ็ตเข้ากับกล้องให้เรียบร้อย จะถ่ายรูปก็ต้องมองผ่านช่องมองภาพและกดชัตเตอร์ ในยุคนั้นผู้ถ่ายจะไม่มีทางรู้เลยว่ารูปที่ออกมาจะเป็นยังไงจนกว่าจะเอาฟิล์มไปล้าง ด้วยวิธีที่ยุ่งยากพวกนี้ทำให้คนทั่วไปถ่ายรูปออกมาไม่สวยเท่าไหร่ เป็นสาเหตุหนึ่งที่คนไม่นิยมถ่ายรูปเท่าตอนนี้ก็ว่าได้

      แต่หลังจากโลกมีคอมพิวเตอร์แล้ว ยุคของการถ่ายรูปด้วยกล้องฟิล์มก็ถูกแทนที่ด้วยกล้องดิจิตอล ด้วยความง่ายของมันที่หลังจากกดชัตเตอร์แล้วก็เห็นรูปได้เลย การปรับค่าก็ง่ายขึ้น ตลับฟิล์มที่ใช้ยากและมีจำนวนรูปที่ถ่ายได้จำกัดก็เปลี่ยนเป็น Memory card เล็กๆ บรรจุรูปถ่ายได้เป็นพันๆ รูป ถ่ายมาเสียก็ลบทิ้งตอนนั้นได้ทันทีด้วย คนสมัยนี้จึงถ่ายรูปกันเยอะมาก ยิ่งพอมีโซเชียลเน็ตเวิร์คมายิ่งถ่ายกันใหญ่ เรียกว่ายุค แชะแล้วแชร์ อย่างแท้จริง

      เอาล่ะ เกริ่นมาตั้งนาน วันนี้ก็จะมาพูดเรื่องกล้องดิจิตอลนี่แหละ ทั้งหมดของกล้องในตลาดตอนนี้แทบไม่ต้องพูดแล้วว่า “มันคือกล้องดิจิตอลนะ” หลังจากกล้องรุ่นแรกๆ ออกมาแล้วได้รับความนิยม (แม้ตอนแรกจะยังไม่ค่อยมีคนใช้เยอะเพราะราคาแพง แต่หลังๆ เริ่มแมสขึ้น ราคาก็ถูกลงมา) รุ่นต่อๆ ก็ผุดออกมาเป็นดอกเห็ดจนคนใช้เลือกไม่ถูก

มันก็คือกล้องเหมือนเดิมนั่นแหละ แค่ไม่ใช้ฟิล์มแล้ว

      ในการถ่ายรูปนั้น ตั้งแต่มีการคิดกล้องขึ้นมาหลักการก็แทบจะไม่ต่างจากเดิมเลย นั่นคือใช้เลนส์รวมแสงหรือรับแสงเข้ามาแล้วให้ตกกระทบกับฉากรับแสงเพื่อเกิดรูปนั้นไว้ เจ้าฉากรับแสงเนี่ยในสมัยก่อนเราใช้ฟิล์มแต่เมื่อยุคดิจิตอลมาถึง จากฟิล์มก็ถูกเปลี่ยนเป็นเซ็นเซอร์รับแสงแทน

ที่มา : https://www.tamemo.com/post/74/how-to-photograpy-1-what-is-digital-camera/


      ทีนี้พอใช้เซ็นเซอร์รับแสงสิ่งที่เราได้ก็ไม่ใช่ฟิล์มที่บันทึกภาพอีกต่อไปแต่เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์เก็บลงในเมมโมรี่การ์ดแทนยังไงล่ะ ไม่ว่าจะกล้องใหญ่ กล้องเล็ก กล้องมือถือต่างก็ใช้หลักการแบบนี้หมด โดยเราขอแบ่งประเภทของกล้องออกเป็น ดังนี้

- สามัญชนคนทั่วไป เราขอแนะนำให้ใช้ กล้องมือถือ หรือ คอมแพ็ค ก็พอ

- มือใหม่อยากลองของแต่ยังกล้าๆ กลัวๆ อยู่ ถ้าอยู่ในกลุ่มนี้กล้องคอมแพ็ครุ่นสูงๆ ก็ยังตอบโจทย์คุณได้ หรือจะให้ดีลองเล่น มิเรอร์เลส ดูเลยดีกว่า

- มือโปรระดับถ่ายรูปหาเงินได้ ระดับนี้คุณคงไม่ต้องการคำแนะนำอะไรอีกแล้ว จัดเต็มกับ Mirrorless รุ่นสูงๆ หรือข้ามไปเล่น DSLR ไปได้เลย

โอเค ตอนนี้เรารู้แล้วว่ากล้องมี 3 ระดับ สูง-กลาง-ต่ำ ดังนั้นขอเริ่มเจาะรายละเอียดด้วยระดับเบสิกที่สุดตัวแรกกันเลย นั่นคือ

 
                         
 
 
   
 
 

 

                   


งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาและบทเรียน

รูปภาพที่ถ่ายทั้งหมด

             - บทความที่ 1
             - บทความที่ 2
             - บทความที่ 3
             - บทความที่ 4
             - บทความที่ 5

 

             - ความรู้เกี่ยวกับกล้อง
             - เทคนิคการถ่ายภาพ
             - การดูแลรักษากล้อง

              - ภาพถ่าย


เว็บไซต์นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาโครงการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี คุณครูที่ปรึกษา คุณครูสุดฤดีประทุมชาติ